การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่างๆ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดยทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือพยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำๆ จึงจะมีความหมาย ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่างๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งศตวรรษที่11 โดย กีโด เดอ อเรซ์โซ(Guido d’ Arezzo,995-
1050) บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและใช้ กันในปัจจุบัน ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่อให้นักดนตรีทราบถึงความสั้น – ยาว, สูง – ต่ำ ของระดับเสียงได้ เราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี (Music Notation) พอสังเขปดังนี้
จากภาพข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า
โน้ตตัวกลม 1 ตัว | ได้ตัวขาว 2 ตัว หรือได้ตัวดำ 4 ตัว |
โน้ตตัวขาว 1 ตัว | ได้ตัวดำ 2 ตัว |
โน้ตตัวดำ 1 ตัว | ได้ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว |
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 1 ตัว | ได้ตัวเขบ็ตสองชั้น 2 ตัว |
ดนตรีประกอบด้วยเสียง (Tone) หลายๆ เสียง มาต่อๆ กัน แต่ละเสียงมีระดับเสียงสูงต่ำและความยาวที่ต่างกัน เมื่อนำเสียงเหล่านั้นมาต่อๆ กันจึงได้เป็นเพลงออกมา ในบทนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของระดับเสียงกัน สำหรับเรื่องความยาวของเสียงได้พูดไว้ในบทเรียนเรื่อง จังหวะ ครับ
ระดับเสียง (Pitch) คือ ความแหลมหรือทุ้มของเสียง เสียงแหลมคือเสียงสูง เสียงทุ้มคือเสียงต่ำ ยกตัวอย่าง เช่น เสียงผู้หญิงมักจะสูงกว่าเสียงของผู้ชาย เสียงแก้วแตกเป็นเสียงที่สูง เป็นต้น สำหรับเปียโน คีย์ที่อยู่ด้านขวาจะให้เสียงที่สูงกว่าคีย์ที่อยู่ด้านซ้ายเสมอ เพราะฉะนั้นคีย์ซ้ายสุดบนเปียโนจะเป็นเสียงที่ต่ำที่สุด (ทวนความจำหน่อยนะครับว่า คีย์ซ้ายสุดของเปียโนคือตัว A-ลา) และคีย์ที่อยู่ขวาสุดจะเป็นเสียงที่สูงที่สุดของเปียโน (คีย์ขวาสุดของเปียโนคือตัว C-โด)
มาพิจารณาที่เพลงหนูมาลีของเรากัน ในเพลงนี้เราใช้ระดับเสียง 4 ระดับเสียง เรียกตามชื่อของคีย์เปียโนที่ใช้เล่นคือ C-โด, D-เร, E-มี, และ G-ซอล (F-ฟา ไม่ได้ใช้ในเพลงนี้) ลองฟังเพลงหนูมาลีเทียบกับภาพนะครับ ในภาพผมจะเขียนเปรียบเทียบเสียงให้ดูง่ายๆ โดยถ้าเสียงสูงกว่าผมจะเขียนไว้สูงกว่า ส่วนเสียงต่ำกว่าผมจะเขียนไว้ต่ำกว่า ตัว G-ซอล จะมีระดับเสียงสูงที่สุด รองลงมาเป็นตัว E-มี (ตัว F-ฟา ไม่ได้ใช้ในเพลงนี้) รองลงมาเป็นตัว D-เร และต่ำสุดคือ C-โด ลองฟังแล้วสังเกตเปรียบเทียบความสูงต่ำของเสียงแต่ละเสียงนะครับ
ภาพแสดงเสียงสูง-ต่ำในเพลงหนูมาลี
โดยปกติอัตราจังหวะของตัวโน้ตมีค่าผันแปรตามเครื่องหมายกำหนดจังหวะดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ด้วยขีดจำกัดของอัตราจังหวะที่ถูกกำหนดโดยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จึงต้องมีวิธีการเพิ่มจังหวะให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวโน้ตและตัวหยุด นอกจากนี้ยังเพิ่มสีสันของทำนองเพลงด้วยการเพิ่มอัตราจังหวะมีหลายวิธีดังนี้
1. การโยงเสียง(Ties)
การเพิ่มอัตราจังหวะโดยการใช้เสียงโยงเสียงที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งใช้กับตัวโน้ตที่มีระดับเสียงเดียวกันเดียวกันเท่านั้น ใช้ได้ 2 กรณี คือ ใช้โยงเสียงตัวโน้ตภายในห้องเดียวกันหรือโยงเสียงต่างห้องก็ได้ มีความหมายคล้ายกับเครื่องหมายบวก (+) การเขียนเส้นโยงเสียงให้เขียนเส้นโยงที่ตำแหน่งหัวตัวโน้ต ส่วนตัวหยุดไม่ต้องใช้เครื่องหมายโยงเสียง เช่น
2. การประจุด(Dots)
เป็นเพิ่มอัตราจังหวะของตัวโน้ตโดยการประจุด(.)เพิ่มเข้าไปด้านหลังของตัวโน้ตตัวที่ต้องการเพิ่มอัตราจังหวะ จุด(.)ที่นำมาประหลังตัวโน้ตจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของตัวโน้ตข้างหน้าแล้วรวมกันเช่น
** ถ้ามีจุดสองจุด จุดตัวหลังจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของจุดตัวแรก
การเปรียบเทียบระหว่างตัวโน้ตประจุดและตัวหยุดตัวหยุดประจุด
4. เครื่องหมายตาไก่หรือศูนย์(Fermata)
เป็นเครื่องหมายทางดนตรีที่มีลักษณะคล้ายตาไก่ คนไทยเราก็เลยนิยมเรียกง่าย ๆ ตามลักษณะที่เห็นว่า “ตาไก่” ใช้สำหรับเขียนกำกับตัวโน้ตตัวใดตัวหนึ่งที่ผู้แต่งต้องการให้ยืดเสียงออกตามความพอใจ การเขียนเครื่องหมายตาไก่นิยมเขียนกำกับไว้ที่หัวตัวโน้ต และจะมีผลกับตัวโน้ตตัวนั้น ๆ ไม่ว่าตัวโน้ตลักษณะใดก็ตาม
เครื่องหมายแปลงเสียง เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ใช้บันทึกเพื่อให้ระดับเสียงของโน้ตตัวนั้นเปลี่ยนแปลงไปจากระดับเสียงเดิม เครื่องหมายแปลงเสียงมีอยู่ 5 ชนิดได้แก่
- แฟล็ต (Flat) เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้ต่ำลง 1/2 ขั้น
- ชาร์ป (Sharp) เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้สูงขึ้น 1/2 ขั้น
- ดับเบิลชาร์ป (Double Sharp) เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้สูงขึ้น 1 ขั้น
- ดับเบิลแฟล็ต (Double Flat) เปลี่ยนระดับเสียงของตัวโน้ตให้ต่ำลง 1 ขั้น
- เนเจอรัล (Natural) กำหนดให้ตัวโน้ตกลับสู่ระดับเสียงปกติ
คือสัญกรณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้แสดงถึงระดับเสียงของตัวโน้ตที่บันทึก กำกับไว้ที่ตำแหน่งเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกชื่อและระดับเสียงของตัวโน้ตที่อยู่บนเส้นนั้น
ประเภทของกุญแจประจำหลัก
กุญแจประจำหลักในการบันทึกดนตรีสมัยใหม่มีใช้อยู่เพียงสามชนิดคือ กุญแจซอล กุญแจโด และกุญแจฟา ซึ่งกุญแจแต่ละชนิดจะอ้างถึงเสียงซอล โด และฟา ตามลำดับ ตามตำแหน่งที่กุญแจนั้นได้ไปคาบเกี่ยวไว้บนบรรทัด เส้นและช่องอื่นๆ ก็จะสัมพันธ์กับโน้ตบนเส้นนั้น
รูปร่าง | ชื่อ | ใช้ระบุโน้ต | ตำแหน่งที่คาบเกี่ยว |
---|---|---|---|
กุญแจซอล กุญแจประจำหลัก G (G-clef) | เสียงซอลที่อยู่เหนือเสียงโดกลาง | ส่วนโค้งก้นหอยตรงกลาง | |
กุญแจโด กุญแจประจำหลัก C (C-clef) | เสียงโดกลาง (middle C) | กึ่งกลางกุญแจโด | |
กุญแจฟา กุญแจประจำหลัก F (F-clef) | เสียงฟาที่อยู่ใต้เสียงโดกลาง | หัวของกุญแจ หรือระหว่างสองจุด |
ตำแหน่งของกุญแจประจำหลัก
กุญแจประจำหลักสามารถวางได้หลายตำแหน่ง ปกติแล้วจะวางไว้ให้คาบเกี่ยวกับเส้นใดเส้นหนึ่งบนบรรทัด และในเมื่อบรรทัดมี 5 เส้น จึงมีความเป็นไปได้ทั้งหมด 15 แบบในการใช้งาน อย่างไรก็ตามมี 6 แบบที่เป็นการกำหนดซ้ำซ้อนกัน ตัวอย่างเช่น กุญแจซอลที่กำกับเส้นที่สาม จะมีค่าเท่ากับกุญแจโดที่กำกับเส้นที่หนึ่ง เป็นต้น ดังนั้นจึงเหลือเพียง 9 แบบเท่านั้นที่ให้ผลแตกต่างกัน ซึ่งทุกแบบเคยใช้ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแล้วทั้งสิ้น ได้แก่ กุญแจซอลบนสองเส้นล่าง กุญแจฟาบนสามเส้นบน และกุญแจโดบนทุกเส้นยกเว้นเส้นที่ห้า (เนื่องจากกุญแจโดบนเส้นที่ห้าซ้ำซ้อนกับกุญแจฟาบนเส้นที่สาม)
แต่สำหรับทุกวันนี้ กุญแจที่ใช้เป็นปกติมีเพียงแค่ กุญแจเทรเบิล กุญแจเบส กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ ซึ่งสองอย่างแรกมักใช้ควบคู่กันบ่อยครั้งกว่า
ที่มาของข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น